ข้อมูลตำบลบ้านกลาง นับแต่ได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นต้นมา บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ความสำคัญ กับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดกรอบความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง ตามเจตนารมย์ของประชาชน และความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ
นอกจากนี้พระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ. 2542 ได้บัญญัติให้มีองค์กร รับผิดชอบในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำหนดหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้การบริการสาธารณะที่จำเป็นแก่ท้องถิ่น ตลอดจนรายได้ของท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ. ศ. 2542 ได้กำหนดรูปแบบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระมากขึ้น
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนการพัฒนาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ. 2546 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ และนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อวางยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนา สนองความต้องการและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนานี้ขึ้น
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลบ้านกลาง |
สภาพทั่วไป ที่ตั้ง อาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองนครพนม ระยะทาง 28 กม. มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จดตำบลดงขวาง อำเมืองนครพนม ทิศใต้ จดตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม ทิศตะวันออก จดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตก จดตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง มีเนื้อที่ 23.69 ตารางกิโลเมตร( 14,806 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศของตำบลบ้านกลางเป็นที่ดอนและมีที่ราบลุ่มเป็นบางส่วน เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 13 หมู่ เป็นหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านหนาด หมู่ที่ 2 บ้านหนาด หมู่ที่ 3 บ้านกลางใหญ่ หมู่ที่ 4 บ้านกลางใหญ่ หมู่ที่ 5 บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 6 บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 7 บ้านกลางน้อย หมู่ที่ 8 บ้านดงยอ หมู่ที่ 9 บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 10 บ้านกลางใหญ่ หมู่ที่ 11 บ้านหนาด หมู่ที่ 12 บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 13 บ้านกลางใหญ่ จำนวนประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางมีประชากรทั้งสิ้น 8,614 คน แยกเป็นชาย 4,339 คน หญิง 4,275 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,938 ครัวเรือน (6/11/2550) สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพ ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และมีอาชีพอื่นเล็กน้อย เช่น ค้าขาย รับจ้าง อุตสาหกรรมในครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง
ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง
ปั๊มน้ำมันแบบหลอด จำนวน 9 แห่ง
โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน 25 แห่ง สภาพทางสังคม การศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย จำนวน 2 แห่ง
สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 2 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การบริการพื้นฐาน การคมนาคม เส้นทางคมนาคมในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต สำหรับเส้นทางคมนาคมที่ใช้เดินทางไปไร่นาหรือแหล่งทำการเกษตรอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง การโทรคมนาคม ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 15 แห่ง
โทรศัพท์ในครัวเรือน จำนวน 200 แห่ง
การไฟฟ้า ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางมีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำห้วย จำนวน 2 แห่ง
สระ จำนวน 20 แห่ง
หนอง จำนวน 16 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น อ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง
ฝาย จำนวน 2 แห่ง
บ่อบาดาล จำนวน 13 แห่ง
บ่อน้ำตื้น จำนวน 67 แห่ง
ข้อมูลอื่น ๆ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ในเขตตำบลบ้านกลางพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถเพาะปลูกพืชได้ทั้งพืชระยะสั้นและ ระยะยาวได้ดี เช่น หอม, กระเทียม, ละมุด เป็นต้น มวลชนจัดตั้ง ลูกเสือชาวบ้าน 4 รุ่น จำนวน 600 คน
กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 120 คน
อสม. จำนวน 60 คน
อปพร. 3 รุ่น จำนวน 206 คน
โอกาสการพัฒนาของตำบลบ้านกลาง โอกาสการพัฒนาของตำบลบ้านกลาง โอกาสที่จะพัฒนา ระบบการผลิตการเกษตรได้แก่ ข้าว ยาสูบ เห็ด ผักต่าง ๆ ตลอดจนอาชีพด้านหัตถกรรม จักสาน ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น คุณภาพดีขึ้น รัฐควรให้การสนับสนุนเรื่องเงินทุน ในการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรพร้อมกับวิทยาการใหม่ ๆ ให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาชีพหัตถกรรมแก่สมาชิก
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
ประมวลภาพในตำบลบ้านกลาง
ตลาดสด อบต.บ้านกลาง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น